ก่อนหน้านี้ได้มีการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้บริการ Data Center และ Cloud Service ให้กับผู้รับใบอนุญาตไปแล้วจำนวน 6 ราย ได้แก่ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) บริษัท ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอมส์ ดาต้า เซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอสทีที จีดีซี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอบีพีโอ จำกัด และบริษัท เน็ตมาร์ค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงาน กสทช. พบว่า ระหว่างปี 2561-2563 รายได้จากการให้บริการที่เกี่ยวข้อง รวมมากกว่า 2,300 ล้านบาท
และล่าสุดเมื่อรวมบริษัท อาลีบาบา คลาวด์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเพิ่งได้รับใบอนุญาตฯ ไปประเทศไทยจะมีผู้รับใบอนุญาตรวม 7 ราย
นายไตรรัตน์ กล่าวว่า การให้อนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง เพื่อให้บริการ Data Center และ Cloud Service ของประเทศไทย ไม่ได้จำกัดว่าผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นนิติบุคคลที่มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยมากกว่า 51% เท่านั้น แต่บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติต่างชาติก็สามารถขออนุญาตเพื่อให้บริการดังกล่าวภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งได้
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการประกอบกิจการของบริษัทที่มีสัญชาติต่างประเทศ ที่ประสงค์จะประกอบกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านดิจิทัลของรัฐบาลและนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
“การที่บริษัท อาลีบาบา คลาวด์ (ประเทศไทย) จำกัด มาขอรับใบอนุญาตฯ เพื่อให้บริการ Cloud Service ถือเป็นเรื่องน่ายินดีในการที่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจะนำมาซึ่งการประกอบธุรกิจและการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ” นายไตรรัตน์ กล่าว
More Stories
ธนาคารอินโดนีเซียประเมินอิทธิพลของ CBDC อีกครั้ง
เฟดจ่อขึ้นดอกเบี้ยแรง 1% ในการประชุมเดือนนี้ หลังเงินเฟ้อสหรัฐสูงกว่าคาด
ธนาคารกลางไต้หวันคาดเงินดิจิทัลจะพัฒนาเสร็จภายใน 2 ปี