หลังจากอุตสาหกรรม crypto เติบโตขึ้นอยากมากเมื่อต้นปีที่ผ่านมาทำให้สภาศาสนาของอินโดนีเซียประกาศว่า cryptocurrency และการชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับชาวมุสลิม
National Ulema Council ซึ่งเป็นองค์กรนักวิชาการด้านอิสลามชั้นนำของอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับเงินทุนจากรัฐ กล่าวว่าการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสกุลเงินเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับชาวมุสลิม โดยที่ผ่านมาสภามักมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักชะรีอะฮ์ในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบ้านของประชากรมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปีที่แล้วมูลค่ารวมของธุรกรรม crypto ในอินโดนีเซียอยู่ที่ 64.97 ล้านล้านรูเปียห์ หรือ 4.6 พันล้านดอลาร์ แต่ในระหว่างเดือนมกราคาถึงพฤษภาคมนั้นอยู่ที่ 370.4 ล้านล้านรูเปียห์ หรือ 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจากหัวหน้าหน่วงงานกำกับดูแลการซื้อขายล่วงหน้าของประเทศ
ในขณะนี้คริปโทเคอร์เรนซี่กำลังพบเจอประเด็นสำคัญกับสภาอูเลมาของประเทศที่กำลังพิจารณาตามหลักกฎหมายชะรีอะฮ์และหลักการของอิสลาม ซึ่งการสืบสวนดังกล่าวได้เพิ่มความซับซ้อนเพิ่มเติมขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ทั้งนี้ Farah Jaafar CEO ของ Labuan IBFC กล่าวในการอภิปรายในหัวข้อ “กฎระเบียบด้านสินทรัพย์ดิจิทัล” ในระหว่างการประชุมเสมือนจริง SG Blockchain Day 2021 ซึ่งจัดโดย Blockchain Association Singapore ว่า
“ความคิดที่ว่า crypto นั้นผิดกฎหมายในประเทศที่มีประชากรเยอะและยากจนที่สุดของโลกประเทศหนึ่งนั้น จัดเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก ๆ นั่นก็เพราะสภาชาริอะฮ์และผู้คนต่างไม่เข้าใจความหมายอย่างแท้จริงในสินทรัพย์ดิจิทัล”
ในระหว่างนี้แม้ว่าการซื้อขาย crypto จะไม่ผิดกฎหมายในประเทศมาเลเซียซึ่งมีประชากรมุสลิมจำนวนมาก แต่ดูเหมือนว่าทางการจะยึดมั่นตามกฎระเบียบสำหรับกระดานเทรดมากกว่า เช่น Binance ถูกแบนในเดือนกรกฎาคมเนื่องจากปัญหาด้านกฎระเบียบ
นอกจากนี้ในเดือนกรกฎาคม ตำนวจมาเลเซียยังใช้รถบดไอน้ำทำลายเครื่องขุด crypto กว่า 1,000 เครื่องซึ่่งยึดมาจากเหมือนที่ใช้ไฟฟ้าอย่างผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตามคาซัคสถานที่มีประชากรกว่า 70% เป็นชาวมุสลิมนั้นกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักขุดคริปโตจากจีน หลังจากการปราบปรามของจีนในภาคส่วนนี้
More Stories
Celsius ยื่นล้มละลายอย่างเป็นทางการแล้ว
รัสเซียเห็นชอบร่างกฎหมายการขุดเหมืองเหรียญคริปโตแล้ว
SK Telecom บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ ประกาศเตรียมสร้างกระเป๋าเงิน Web 3